"POP CULTURE THE ORDINARY IS EXTRA"

By LTpops / 17 Aug 2023

...

POP CULTURE THE ORDINARY IS EXTRA

บางทีสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวแท้ ๆ กลับถูกลดคุณค่าและมองไม่เห็นความสำคัญ เพียงเพราะอยู่ใกล้มากเกินไปอย่าง “ตัวหนังสือไทย” ที่เห็นกันจนแทบจะกลายเป็นสิ่งธรรมดา แต่สำหรับมุมมองของ “แม่น-จิรวัฒน์ ศรีเลื่อนสร้อย” ดีไซเนอร์ อาร์ตไดเรกเตอร์ และศิลปินผู้มากความสามารถ กลับเลือกที่จะหยิบเอาตัวหนังสือไทยมาสร้างสรรค์เป็นชิ้นงานศิลปะที่มีเอกลักษณ์ ก่อนที่สิ่งใกล้ตัวนี้จะกลายเป็นความธรรมดาที่หมดค่า ไร้ความหมายไปในที่สุด


“The definition of the artist here is one who delivers their work and gives value to themselves first, and then imparts that value to their audience, making them feel elevated and helping to develop their feelings and minds.”


ศิลปะ  พรสวรรค์ และความหมาย

หากจะพูดถึงความหมายของศิลปะ แต่ละคนก็คงมีมุมมอง ความหมาย และการตีความที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งสำหรับศิลปินผู้มากความสามารถผู้นี้ สิ่งที่สามารถเรียกได้ว่าเป็นงานศิลปะนั้นจะต้องสามารถสื่อสารและเชื่อมต่อกับผู้รับ จนทำให้เกิดความรู้สึก ‘ขนลุก’ ได้ “รู้สึกว่าอะไรก็ตามที่เราทำให้รู้สึกขนลุก เหมือนเราไปดูงานศิลปะที่ Museum หรือดูแฟชั่นโชว์ ดูหนัง ดูละครอะไรก็ตามที่ทำให้รู้สึกขนลุก ทำให้รู้สึกว่า Elevate จิตใจขึ้นมา เช่น เราไปดูงานที่ Centre Pompidou ก็มีงานศิลปะมากมาย ซึ่งทุกชิ้นก็เป็นงานศิลปะทั้งหมดอยู่แล้ว แต่ชิ้นที่มัน Connect กับเราก็คืองานที่ดูแล้วรู้สึกตื่นเต้น ตื่นใจ ทำให้รู้สึกว่ามีสิ่งใหม่เกิดขึ้นในโลกของเรา แม้กระทั่งกราฟิตี้ที่เห็นอยู่ตามถนน ที่เป็น Visual ถ้ามัน Activate ร่างกายเรา ทำให้เรารู้สึกว่า ‘เออคิดได้’ หรือทำให้ตื่นเต้น ขนลุก แล้วทำให้รู้สึกว่าอยากจะทำอะไรกับชีวิตสักอย่างหนึ่งไม่ว่าจะเป็นเรื่องดีหรือไม่ดี นั่นก็คือศิลปะสำหรับเรา ดังนั้นการที่คน ๆ หนึ่งจะเป็นศิลปินได้นั้น ถ้าไม่พูดถึงเรื่อง Skill กับ Creativity ก็จะเป็นเรื่องการ Connect กับมนุษย์ เหมือนคนที่มีแฟน หรืองานของศิลปินบางคนที่เราไม่เข้าใจ แต่เขาก็มีคนชื่นชอบเยอะ นั่นเป็นเพราะว่าเขา Connect กับกลุ่ม Audience ของเขา เพราะฉะนั้นศิลปินในที่นี้ก็ผู้ที่ Express งานออกมาแล้วมีค่าเริ่มที่ตัวเองก่อน จากนั้นก็มีค่ากับ Audience ของเขา ในแง่ที่จะทำให้รู้สึกว่า Elevate พัฒนาความรู้สึกและจิตใจคน ส่วนพรสวรรค์มีได้ แต่ถ้าไม่ได้ลงลึกลงไปถึงขนาดที่เอาพรสวรรค์นั้นมา Generate ให้มีค่ากับคนอื่น ไม่ได้ถูกนำมาใส่ Display ให้คนเห็น มันก็เป็นแค่พรสวรรค์ทั่วไป”


“อักษรไทย” แรงบันดาลใจใกล้ตัว

ด้วยเชื่อว่าแรงบันดาลใจมาจากสิ่งต่าง ๆ รอบตัวขึ้นอยู่กับความละเอียดอ่อนของการใช้ชีวิตเฉพาะบุคคล นี่จึงน่าจะเป็นเหตุผลให้ศิลปินผู้นี้เลือกที่จะหยิบ “ตัวอักษรไทย” มาสร้างสรรค์และถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานสู่สากล “เมื่อก่อนเราเป็นอาร์ตไดเรกเตอร์และสไตลิสต์ ที่สื่อสารกับคนด้วยรูป ซึ่งก็จะแอบอิจฉานักเขียนที่เขาสามารถสื่อสารเรื่องที่อยู่ในหัวออกมาได้อย่างชัดเจนและละเอียด แต่พอเริ่มเขียนตัวหนังสือ เราก็รู้สึกว่าการที่เอาตัวหนังสือมากลุ่มหนึ่งมาจัด Compose แล้วเขียนให้คนรู้สึกชอบ สนใจ รัก ตื่นเต้น ขนลุกได้ เราก็รู้สึกว่ามันมีการสื่อสาร และตีความคนละแบบกับนักเขียน แต่ผลสุดท้ายคือข้อเขียนของเขาหรือตัวหนังสือของเรา มันได้ทำหน้าที่สื่อสารกับ Audience สมมติคนอ่านอ่าน Article ของคุณแล้วรู้สึกสนุก มันก็คงเหมือนคนที่ดูตัวหนังสือของแม่นแล้วรู้สึกว่าน่าสนใจ มันคือความรู้สึกที่ขนลุกพอ ๆ กันสำหรับแม่น ก็เลยรู้สึกว่านี่แหล่ะเราก็คงสื่อสารกับมนุษย์ได้แล้วมั้ง (หัวเราะ) ซึ่งการสื่อสารผ่านรูปแบบของ Font ตัวหนังสือ ถ้าเปรียบเทียบกับงานศิลปะอื่น ๆ ก็อาจจะง่ายและยากกว่า เพราะว่าตัวหนังสือเป็นสิ่งที่สามารถสื่อสารด้วยความหมายในตัวเองเลย เช่น ถ้าเห็นคำว่ารัก เราก็จะคิดไปถึงเรื่องรักที่เคยผ่านมาในประสบการณ์ชีวิต ซึ่งจริง ๆ มันง่ายกว่าการสื่อสารด้วยรูปภาพ หรือการเขียน Article สมมติว่ามีผู้ชายคนหนึ่งเขียนคำว่ารักเธอแล้วยื่นให้เรา เราก็จะรู้สึกดีไปทันที กับผู้ชายที่ยื่นรูปดอกกุหลาบ หรือผู้ชายที่เขียน Article คือภาษาเป็น Symbol แรก ๆ ที่มนุษย์สื่อสารกันเข้าใจอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นแม่นคิดว่ามันง่ายกว่าที่เราใช้ตัวหนังสือสื่อสาร แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้เรารู้สึกว่าแล้วมันจะต้องการความสามารถของเราไปทำไม เพราะคำก็บอกควายหมายในตัวเองอยู่แล้ว แม่นก็เลยต้องทำงานหนักกว่าเดิมที่เราจะบอกว่าคำว่ารักที่เราเขียนไปเป็นในรูปแบบไหน รักแบบเพื่อน หรือรักแบบไหนบ้าง ซึ่งก็จะมีความหมายของคำว่ารักที่แตกต่างกันด้วยลายเส้นที่แตกต่างกันที่เราสื่อออกไป”


จากตัวอักษรไทยสู่งานศิลปะระดับอินเตอร์

เมื่อตัดสินใจได้แล้วว่าจะเลือกหยิบเอาเสน่ห์ของตัวอักษรไทยมาถ่ายทอดในรูปแบบของงานศิลป์ ระหว่างนั้นก็ได้มีบุคคล 2 ท่านที่เป็นเหมือนแรงผลักดันสำคัญให้คุณแม่นสร้างสรรค์ผลงานจนสำเร็จ “ถ้าเป็นไปได้แม่นก็อยากจะ mention คน 2 คนก็คือพี่หมู อาซาว่า เพราะตอนแรกที่แม่นเขียน พี่หมูเป็นคนแรก ๆ ที่ชอบมาตลอด แล้วก็บอกว่าแม่นจงทำต่อไป แล้วมันจะกลายเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ กับอีกคนหนึ่งคือพี่ใหม่ พี่ชายที่ maze museum ซึ่งตอนที่เริ่มเขียนเราถามเขาว่ามันจะเชยไหม แล้วเขาก็ตอบมาว่าไม่เชยหรอก เพราะต่อให้นานเท่าไหร่มันก็จะเป็นของที่มีอยู่อย่างเดียวในโลก และเป็นของเธอเอง เราก็เลยรู้สึกมีกำลังใจเป็นอย่างมาก จนนำมาซึ่งชิ้นงาน ‘กรุงเทพมหานคร’ ที่ทำขึ้นมาช่วง Spring/Summer 2017 ตอนนั้นแม่นทำ Showroom ที่ปารีส ร่วมกับดีไซเนอร์ Dry Clean Only คือช่วงปีนั้นเป็นปีที่เหล่าดีไซเนอร์ทุกคนในโลกนี้กระโดดขึ้นมาบนเวทีโลก ทำให้เริ่มเห็นดีไซเนอร์ต่างชาติที่ใช้ตัวหนังสือโลโก้ของเขามาบนแพลตฟอร์มอินเตอร์เนชั่นเนล ก็รู้สึกว่าของเรายังไม่มีเลย เลยทำ ‘จังหวัดกรุงเทพมหานคร’ ออกมาออกขายที่ปารีสปีนั้น โดยหลังจากนั้นก็ถูกทำเป็นแบรนด์ขึ้นมาชัดเจน นี่ก็เลยเป็นงานที่แม่นว่าน่าจะเป็นตรงกับคำว่า POP ได้มากที่สุด เพราะด้วยตัวลักษณะของตัวหนังสือ แต่ละตัวเป็นตัวหนังสือธรรมดาหมด แต่เราเอามาจัดเรียงด้วย Composition ใหม่ แล้วอยู่ในบริบทที่ไม่เคยเกิดขึ้นในโลกนี้คือบนเสื้อยืด มันทำให้เกิดการหันไปมอง นั่นแหล่ะ POP ซึ่งคำว่า POP สำหรับแม่นคือจุดเด่นที่สะดุดสายตามนุษย์ได้โดยง่าย ด้วยความแตกต่างจากสภาพแวดล้อมที่อาจจะคลาสสิก คือเป็นลักษณะที่โดดเด่น และ Explode มาอย่างชัดเจน ซึ่งเกิดขึ้นตอนไหนก็ได้”


จุดสูงสุดและอนาคตที่วาดไว้

แม้หากมองจากภายนอกเขาจะเป็นศิลปินที่ประสบความสำเร็จ แต่สำหรับเจ้าตัวกลับมองว่าจุดสูงสุดของการเป็นศิลปินนั้นคงไม่มีวันไปถึง “เพราะเป็นมนุษย์เราก็ไปได้เรื่อย ๆ แหละ (หัวเราะ) คือก็อาจจะมีจุดที่เราตื่นเต้นและพอใจ แต่การเป็นมนุษย์ก็ต้องโตขึ้นไปเรื่อย ๆ และถ้าถามตอนนี้เราก็รู้สึกว่ามีหลายสิ่งที่อยากให้เกิดขึ้น มีหลายสิ่งที่เราอยากจะพัฒนาขึ้นไปอีก ก็เลยคิดว่ายังไปต่อได้เรื่อย ๆ เช่น ถามถึงตอนนี้ตัวหนังสือไทยใช่ไหม เราก็อยากเห็นลิซ่าใส่เสื้อกรุงเทพมหานคร แต่ถ้าถามว่ามีโอกาสจะเปลี่ยนไปสร้างสรรค์งานศิลปะในรูปแบบอื่น ๆ ไหม คำตอบคือถ้าเปลี่ยนไปเป็น Media อื่นอาจจะใช่ แต่ก็คงต้อง Keep เป็นอักษรตัวหนังสืออยู่ดี สมมติตอนนี้เราเขียนลงบนกระดาษ คราวหน้าเราอาจจะเอาตัวหนังสือเราไปเปลี่ยนเป็น 3D หรือรูปปั้น หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่โครงสร้างหลักก็คือการสื่อสารความรู้สึกด้วยลายมือและตัวหนังสือภาษาไทย”


ติดตามตัวหนังสือไทยที่มีชีวิต และหลากหลายผลงานป๊อบ ๆ ของศิลปินผู้มากความสามารถที่ชื่อ แม่น - จิรวัฒน์ ศรีเลื่อนสร้อย ผู้นี้ได้ทาง IG @theonlymarketabngkok และ @thaipologic